วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงโลโก้สินค้าจะส่งผลต่อการตลาดระหว่างประเทศ อย่างไร!!


            ปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาดของตราสินค้าดังๆ สิ่งที่ซ้อนอยู่ในตราสินค้า คือความทันสมัย และเทคโนโลยีในการออกแบบและการผลิต และจักทำอย่างไรให้ผู้บริโภคยอมรับและเชื่อมั่นในตราสินค้า
การสร้างความแตกต่างย่อมทำให้ธุรกิจได้เปรียบ แต่ไม่ใช่เพียงสร้างจากคำพูดหรือสัญญาเพียงอย่างเดียว ถ้ากิจการมีการเสนอสินค้าหรือบริการที่ดีเลิศ กิจการควรต้องส่งมอบคุณภาพและบริการที่อยู่ในสัญญาตกลงกันไว้ด้วยการกระทำ
ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ เมื่อการแข่งขันเสนอสิ่งที่เหมือนกัน ผู้ซื้อจักเป็นผู้แยกความแตกต่าง โดยใช้ตราสินค้า ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องเสริมสร้างและรักษาภาพลักษณ์ (Image) ไว้ให้แตกต่างจากผู้อื่น ลักษณะของตราสินค้าที่ประสบความสำเร็จไม่ได้มาจากตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการดำเนินการต่อเนื่องในการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ (Identity-building Program) โดยใช้เครื่องมือสื่อทางภาพ / เสียง / ตัวอักษร
Starbucks  ได้มีการเปลี่ยนแปลงตราสินค้ามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
        ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตราสินค้านั้นจะส่งผลอย่างไรต่อการตลาดระหว่างประเทศ คือ ทำให้ผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการของ Starbucks  เกิดความแปลกใหม่เห็นถึงภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไป แสดงถึงการพัฒนาตัวสินค้าและเอกลักษณ์ของสินค้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม    เกิดความน่าสนใจ และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในต่อๆไป ทำให้การตลาดของ  Starbucks  เกิดความคึกคักมากขึ้นจากผู้ที่สนใจในเรื่องของกาแฟและผู้บริโภคที่นิยมให้บริการอยู่เป็นประจำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศการก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจของ  Starbucks   ทำให้มียอดขายที่ดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ และมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีข้อเสีย คือ หากไม่ใช่ผู้ที่สนใจในด้านกาแฟหรือไม่ใช่บริโภคที่บริโภค  Starbucks  เป็นประจำอาจจะมีความสับสนในตัวสินค้าและโลโก้สินค้า หากไม่ได้รับข่าวสารที่ทั่วถึงจาก  Starbucks  การนำเข้าและส่งออก ก็อาจจะมีปัญหาตามไปด้วย เพราะบางคนที่นิยมบริโภคตัวเดิมอยู่แล้ว อาจจะคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าได้

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ ให้กับทั้ง 2 ธุรกิจ

               ขั้นตอนการวางแผนทางการตลาด
 การกำหนดวิสัยทัศน์
      การที่ต้องนึกก่อนว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า ร้านเราจะเป็นร้านที่ใหญ่ ขนาดใหญ่ เช่น ถ้าสมมุติว่าเราเป็นร้านอาหาร อีก 3 ปีข้างหน้า และก็เป็นร้านที่ดังที่สุด  ซึ่งตรงนี้ถือว่าเรามีเป้าแล้วเราก็จะยินคำว่า Vision ซึ่งแปลว่า วิสัยทัศน์ ส่วน Mission คือ พันธกิจ หมายความว่า จะทำให้ถึงตรงนั้นได้อย่างไร พูดง่าย ๆ ก็คือว่าเราต้องมีวัตถุประสงค์ว่าร้านเราตั้งขึ้นมาทำไม

การกำหนดยุทธศสตร์
     การวางแผนทางการตลาดต้องมีแนวทางในการให้ไปถึงเป้าให้ได้ เรียกว่ายุทธศสตร์หรือกลยุทธก็ได้ โดยทั่วไปแล้วเราต้องมี ยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่น ความพยายามที่ได้รวมพลัง ไม่กระจัดกระจาย และมี กลยุทธเพื่อให้มีสมาธิในการประกอบการ เพื่อที่ให้ทีมงานมีความมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน นั้นก็คือ การวางแผน

การกำหนดนโยบายธุรกิจ
     ธุรกิจนี้ไม่ใช่แค่ว่าการตลาด แต่ยังมีการผลิต การเงิน การบริหารงานบุคคล นโยบายเป็นกติกาที่ทุกคนในองค์กรต้องปฎิบัติ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า การวางแผนการตลาด โดยองค์รวม
                 เทคนิคสู่ความสำเร็จของแผนทางการตลาด

แผนการตลาดต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับแผนธุรกิจ
     แผนทางการตลาดจะต้องสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ด้วย เช่น แผนการผลิตสินค้า แผนการเงินต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อความมีประสิทธิภาพ ในการนำไปปฎิบัติ

แผนการตลาดต้องเข้าใจง่ายสำหรับพนักงานทุกระดับ
     การเขียนแผนการตลาด จะต้องทำให้พนักงานเข้าใจคำว่าให้ดีที่สุดของเราแค่ไหน แต่ถ้าบอกพนักงานว่าปีนี้เราจะโต 20 % เราก็ต้องรู้เราต้องเก่งกว่า ปีที่แล้วเท่าไหร่ ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ชัดเจน เมื่อทำงานกับคนหมู่มาก หรือการทำงานเป็นทีม เราจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จำเพาะเจาะจงเป็นตัวเลข ซึ่งเป็นเทคนิคของการเขียนแผนการตลาดที่เข้าใจง่าย

แผนการตลาดต้องเข้าให้ความสำคัญกับเรื่องบุคคลากร
     บริษัทขนาดเล็กจะมีเรื่องคนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ซึงจะต้องให้มีแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับคนเช่นกัน ตั้งแต่การเลือกลูกจ้าง การพัฒนาบุคคลกรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา