วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงโลโก้สินค้าจะส่งผลต่อการตลาดระหว่างประเทศ อย่างไร!!


            ปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาดของตราสินค้าดังๆ สิ่งที่ซ้อนอยู่ในตราสินค้า คือความทันสมัย และเทคโนโลยีในการออกแบบและการผลิต และจักทำอย่างไรให้ผู้บริโภคยอมรับและเชื่อมั่นในตราสินค้า
การสร้างความแตกต่างย่อมทำให้ธุรกิจได้เปรียบ แต่ไม่ใช่เพียงสร้างจากคำพูดหรือสัญญาเพียงอย่างเดียว ถ้ากิจการมีการเสนอสินค้าหรือบริการที่ดีเลิศ กิจการควรต้องส่งมอบคุณภาพและบริการที่อยู่ในสัญญาตกลงกันไว้ด้วยการกระทำ
ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ เมื่อการแข่งขันเสนอสิ่งที่เหมือนกัน ผู้ซื้อจักเป็นผู้แยกความแตกต่าง โดยใช้ตราสินค้า ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องเสริมสร้างและรักษาภาพลักษณ์ (Image) ไว้ให้แตกต่างจากผู้อื่น ลักษณะของตราสินค้าที่ประสบความสำเร็จไม่ได้มาจากตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการดำเนินการต่อเนื่องในการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ (Identity-building Program) โดยใช้เครื่องมือสื่อทางภาพ / เสียง / ตัวอักษร
Starbucks  ได้มีการเปลี่ยนแปลงตราสินค้ามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
        ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตราสินค้านั้นจะส่งผลอย่างไรต่อการตลาดระหว่างประเทศ คือ ทำให้ผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการของ Starbucks  เกิดความแปลกใหม่เห็นถึงภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไป แสดงถึงการพัฒนาตัวสินค้าและเอกลักษณ์ของสินค้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม    เกิดความน่าสนใจ และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในต่อๆไป ทำให้การตลาดของ  Starbucks  เกิดความคึกคักมากขึ้นจากผู้ที่สนใจในเรื่องของกาแฟและผู้บริโภคที่นิยมให้บริการอยู่เป็นประจำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศการก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจของ  Starbucks   ทำให้มียอดขายที่ดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ และมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีข้อเสีย คือ หากไม่ใช่ผู้ที่สนใจในด้านกาแฟหรือไม่ใช่บริโภคที่บริโภค  Starbucks  เป็นประจำอาจจะมีความสับสนในตัวสินค้าและโลโก้สินค้า หากไม่ได้รับข่าวสารที่ทั่วถึงจาก  Starbucks  การนำเข้าและส่งออก ก็อาจจะมีปัญหาตามไปด้วย เพราะบางคนที่นิยมบริโภคตัวเดิมอยู่แล้ว อาจจะคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าได้

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ ให้กับทั้ง 2 ธุรกิจ

               ขั้นตอนการวางแผนทางการตลาด
 การกำหนดวิสัยทัศน์
      การที่ต้องนึกก่อนว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า ร้านเราจะเป็นร้านที่ใหญ่ ขนาดใหญ่ เช่น ถ้าสมมุติว่าเราเป็นร้านอาหาร อีก 3 ปีข้างหน้า และก็เป็นร้านที่ดังที่สุด  ซึ่งตรงนี้ถือว่าเรามีเป้าแล้วเราก็จะยินคำว่า Vision ซึ่งแปลว่า วิสัยทัศน์ ส่วน Mission คือ พันธกิจ หมายความว่า จะทำให้ถึงตรงนั้นได้อย่างไร พูดง่าย ๆ ก็คือว่าเราต้องมีวัตถุประสงค์ว่าร้านเราตั้งขึ้นมาทำไม

การกำหนดยุทธศสตร์
     การวางแผนทางการตลาดต้องมีแนวทางในการให้ไปถึงเป้าให้ได้ เรียกว่ายุทธศสตร์หรือกลยุทธก็ได้ โดยทั่วไปแล้วเราต้องมี ยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่น ความพยายามที่ได้รวมพลัง ไม่กระจัดกระจาย และมี กลยุทธเพื่อให้มีสมาธิในการประกอบการ เพื่อที่ให้ทีมงานมีความมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน นั้นก็คือ การวางแผน

การกำหนดนโยบายธุรกิจ
     ธุรกิจนี้ไม่ใช่แค่ว่าการตลาด แต่ยังมีการผลิต การเงิน การบริหารงานบุคคล นโยบายเป็นกติกาที่ทุกคนในองค์กรต้องปฎิบัติ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า การวางแผนการตลาด โดยองค์รวม
                 เทคนิคสู่ความสำเร็จของแผนทางการตลาด

แผนการตลาดต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับแผนธุรกิจ
     แผนทางการตลาดจะต้องสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ด้วย เช่น แผนการผลิตสินค้า แผนการเงินต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อความมีประสิทธิภาพ ในการนำไปปฎิบัติ

แผนการตลาดต้องเข้าใจง่ายสำหรับพนักงานทุกระดับ
     การเขียนแผนการตลาด จะต้องทำให้พนักงานเข้าใจคำว่าให้ดีที่สุดของเราแค่ไหน แต่ถ้าบอกพนักงานว่าปีนี้เราจะโต 20 % เราก็ต้องรู้เราต้องเก่งกว่า ปีที่แล้วเท่าไหร่ ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ชัดเจน เมื่อทำงานกับคนหมู่มาก หรือการทำงานเป็นทีม เราจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จำเพาะเจาะจงเป็นตัวเลข ซึ่งเป็นเทคนิคของการเขียนแผนการตลาดที่เข้าใจง่าย

แผนการตลาดต้องเข้าให้ความสำคัญกับเรื่องบุคคลากร
     บริษัทขนาดเล็กจะมีเรื่องคนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ซึงจะต้องให้มีแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับคนเช่นกัน ตั้งแต่การเลือกลูกจ้าง การพัฒนาบุคคลกรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา



วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้สึกที่ได้รับประทานขนมอินเดีย!!



         ความรู้สึกที่ได้ไปรับประทานขนมอินเดียน่ะค่ะ  ขนมอินเดียเป็นขนมที่มีสีสันสวยงามน่าทานมาก มีสีเหลือง ชมพู เขียว ขาว เป็นต้น โดยราคาของขนมก็จะอยู่ประมาน ราคา 10 -15 บาท น่ะค่ะ ซึ่งส่วนผสมส่วนใหญ่ในการทำขนมอินเดีย ก็คือ นม เพราะรสชาติที่ได้รับประทานออกมา จะออกไปทางหวานมากกว่า รสชาติอื่นๆ



        ในการไปรับประทานขนมอินเดียครั้งนี้ ดิฉันประทับใจ ในการบริการของที่ร้าน และ ได้ ชิมรสชาติของขนมที่ไม่เคยได้ทานมาก่อน รู้สึกดีใจ และแปลกใหม่กับรสชาติ  สถานที่ เห็นถึงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมที่แตกต่างกันค่ะ อยากให้ทุกคนที่ยังไม่เคยชิมขนมอินเดีย  ได้ลองไปชิมดูกันน่ะค่ะ สีสันน่าทาน หอม หวาน ดีค่ะ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แรงดึงดูดในด้านต่างๆของประเทศจีน....

         

           ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย และที่เด่นชัดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน ซึ่งมีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน และไทยได้รับเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนในช่วงเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน น่าจะเริ่มมีขึ้นในช่วงนี้ด้วยจากการอพยพของชาวจีนในช่วงสงครามสมัยราชวงศ์หยวนและในช่วงต้นราชวงศ์ หมิง และนับจากนั้นมา ก็ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาโดยตลอดและมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาตั้งรกราก ในไทย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกและสงครามกลางเมืองของจีนในทศวรรษที่ 1930-1950 มีชาวจีนจำนวนมากจากมณฑลทางใต้ของจีน อาทิ กวางตุ้ง ไห่หนาน ฝูเจี้ยน และกวางสี หลบหนีภัยสงครามและความ อดอยากเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดุจพี่น้องระหว่างไทย กับจีนได้มีมาอย่างยาวนาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน

แรงดึงดูดทางด้านการเมืองของประเทศจีน
        1.     จีนประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันอันนำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       2.     จีนมีพื้นฐานความเข้าใจและความใกล้ชิดกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนที่ดีอย่างต่อเนื่อง
      3.     ผู้นำของจีนนับแต่อดีตจนถึงปัจุบันได้เยือนประเทศต่างสร้างสัมพันธ์ที่ดีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เช่น นายเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เยือนไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978 นับจากนั้นประธานาธิบดีจีนทุกสมัยก็ได้เยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แรงดึงดูดทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน
       1.     จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ค่อนข้างกว้างหลังจากทศวรรษแรกของการสถาปนาความสัมพันธ์ที่ทั้งสองประเทศได้ประสบผลในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันแล้วนั้น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าได้กลายเป็นองค์ประกอบที่นับวันยิ่งมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอื่นๆ
       2.    อนาคตเศรษฐกิจของประเทศจีนมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จ และดำเนินต่อไปทั่วโลกเหมาะแก่การทำการค้าและลงทุนเป็นอย่างมาก
       3.     ประเทศจีนได้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และมีเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
แรงดึงดูดทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศจีน
       1.    จีนด้วยความผูกพันยาวนานและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดทำให้ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมจีนพัฒนาไปยังประเทศต่างๆที่ทำการค้ามายาวนานและแนบแน่นมาโดยตลอด
      2.    ประชาชนของได้มีการไปมาหาสู่เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านประจำชาติ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดีและได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากประชาชนของแต่ละฝ่าย ไปจนถึงความร่วมมือทางด้านศาสนาและการลงทุนต่างๆตามมาอย่างต่อเนื่อง
 3.    ประวัติศาสตร์ของจีน ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน รวมทั้งเยาวชนของไทยในการศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ 
 แรงดึงดูดทางด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน
1.    ผู้นำประเทศจีนมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวทันโลกอย่างต่อเนื่อง เห็นถึงความกระตือรือร้นของผู้นำที่ดีและประชาชนในประเทศจีนเป็นอย่างมาก
2.    จีนได้ให้ความมือทางด้านการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น
3.    จีนได้มีการส่งเสริมให้กับเยาวชนรุ่นหลังหันมาสนใจในการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อติดตามข่าวสารได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา

ความเสี่ยงของการมาลงทุนในประเทศจีน
1.    ประเทศจีนมีคู่ค้าค่อนข้างมากและกว้างอาจจะมีผลต่อผลกำไร หรือ ราคาที่อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังได้
2.    ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและประชากรที่สมบูรณ์ สินค้าบางชนิดอาจจะมาเปิดตลาดได้ยากสำหรับการมาลงทุนในประเทศจีน
3.    ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรประกอบการค้าขายเป็นอาชีพหลัก ดังนั้นการที่จะไปลงทุนอาจมองถึงโอกาสตลาดของประเทศของตนได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากประชากรจีนส่วนใหญ่ก็มีความประหยัด และอดทน ดังนั้นการจะไปทำการค้าอาจจะไม่สู้ตลาดของจีนแท้ๆได้

กล่าวโดยสรุป   ในปัจจุบันไทยกับจีนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่เจริญรุดหน้าในทุกด้าน และนับวันจะยิ่งพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้ง ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ดังนั้น ในช่วงศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของจีน ไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคหวังว่าจะความร่วมมือกับจีนมากยิ่งทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน โดยจีนจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและโลกโดยรวม




วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย( อาหารทะเลแห้ง )
         จีนเป็นทั้งผู้ผลิตและนำเข้าอาหารทะเล ทั้งเพื่อแปรรูปส่งออกและเพื่อบริโภคที่น่าจับตามอง เนื่องจากตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจีน เป็นตลาดน่าสนใจจากปริมาณผลิตที่ไ ม่เพยีงพอตอ่ความต้องการบริโภค ทำให้จีนต้องพงึ่การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เพื่อป้อนตลาดในประเทศ ปัจจุบัน มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลไทยไปตลาดจีนยังไม่สูงนัก ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของจีน คือ รัสเซียสหรัฐอเมริกา นอรเวย์ ญี่ปุ่น แคนาดา อินเดียและเกาหลีใต้ ซึ่งสัดส่วนตลาดรวมกันถึง 65% ของมูลค่านำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดของจีน สำหรับไทย อยู่อันดับ 8 ของแหล่งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ของจีน โดยใน ปี3 เดือนแรกของ ปี2009 มณฑลกวางตุ้งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากไทยเฉลี่ย 6,779 ตัน คิดเป็นมูลค่า 14.94 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2010 มณฑลกวางตุ้งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากไทยเฉลี่ย 6,058 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี2009 ลดลงร้อยละ 10.63 เนื่องจากรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งส่งเสริม การเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา การเพาะเลี้ยงชายฝั่งในมณฑล  แนวโน้มบริโภคอาหารทะเลของคนจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมีความสดและคุณภาพดีขึ้น เนื่องจากการปรับปรุงและพัฒนาช่องทางขนส่งและรายได้เฉลี่ยต่อหัวคนจีน มี แนวโน้มเพิ่มขนึ้ ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายตลาดอาหารทะเลนำเข้าคือกลุ่มผู้มีรายได้สูงและอาศัยตามเมืองใหญ่ๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มรายได้เพียงพอซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนำเข้า ปัจจุบันพื้นที่แถบชนบทของมณฑลกวางตุ้งเริ่มหันมาเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเลในพื้นที่น้ำจืดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเลี้ยงรายย่อยเพื่อจำหน่ายให้พื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งนักธุรกิจหันมาลงทุนเพาะเลี้ยงลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่ เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคในเมืองใหญ่และป้อนเข้าโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพื่อส่งออกอาหารทะเลแปรรูปเพื่อส่งออกแม้จีนจะเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมากที่สุดในโลกแต่จีนยังต้องการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เนื่องจาก
      1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค กลุ่มคนรุ่นใหม่ของจีนเป็นตลาดสำคัญของอาหารทะเลนำเข้า เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้เห็นว่า อาหารทะเลนำเข้าต่างจากอาหารทะเลที่ผลิตได้ในประเทศ ทั้งความหลากหลายของประเภท และรสชาติจึงเป็นโอกาสของผลติภัณฑ์อาหารทะเลที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในจีน โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามสไตล์ตะวันตก
     2. ปัจจัยเอื้อนโยบายรัฐบาลจีน ราคาเป็นปัจจัยสำคัญมากในการตัดสินใจซื้ออาหารทะเลของกลุ่มคนจีนโดยทวั่ไป นอกจากนี้กลุ่มคนจีนที่มีอายุนิยมซื้ออาหารทะเลจากตลาดสด ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะทราบที่มาของอาหารทะเลเหล่านี้ อาหารทะเลที่จำหน่ายส่วนใหญ่ยังมีชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปคนจีนนิยมซื้ออาหารทะเลเป็นๆ ซึ่งเมื่ออาหารทะเลเป็นๆ ราคาแพงขึ้น เนื่องจากนโยบายรัฐบาลจำกัดปริมาณจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติอาหารทะเลแช่แข็งจึงเป็นทางเลือกน่าสนใจมากขึ้น รองลงไปคืออาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลตากแห้ง โดยเฉพาะปลาหมึกตากแห้งเป็นของขบเคี้ยวที่นิยมมากในกลุ่มคนจีนอย่างไรก็ตาม อาหารทะเลนำเข้าที่มีโอกาสขยายตลาดในจีน ต้องเป็นอาหารทะเลที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนจีน กล่าวคือ คนจีนนิยมบริโภคหัวปลาและพุงปลาส่วนขนาดปลาที่เป็นที่นิยมในตลาดจีนควรจะมีน้ำหนักประมาณ 200-500 กรัมต่อตัวยังมีหัวและหางอยู่ครบ เนื่องจากปลาขนาดนี้เหมาะสำหรับนำไปนึ่ง ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนจีน
      3. การแข่งขันของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนำเข้า ยังไม่สูงนัก ปัจจุบันอาหารทะเลนำเข้าของจีน ยังไม่มีประเทศใดเป็นผู้นำตลาดชัดเจนและความต้องการอาหารทะเลของจีนหลากหลาย อย่างไรก็ตาม อาหารทะเลที่ส่งออกจากประเทศแถบเอเชีย มีความสามารถแข่งขันในตลาดจีนได้ดีกว่า เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเทียบกับอาหารทะเลจากประเทศตะวันตก
      4. ตามกรอบความร่วมมือเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (China — ASEAN FreeTrade Area) ภาษีในการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ไม่ว่าจะสด แช่แข็ง หรือแห้งจะเป็น 0% ดังนั้นจีนจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย

ข้อดี :  1.ตลาดของอาหารทะเลแห้งของประเทศไทยได้เจาะตลาดประเทศจีนมากขึ้น
              2.ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศและมีการเลือกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศจีนมากขึ้น
              3.เกิดรายได้เข้าประเทศจากอาหารทะเลแห้ง ซึ่งทำให้มีตลาดการค้าที่กว้างและขยายตัวดีขึ้น
ข้อเสีย : 1.ราคาสินค้าอาหารทะเลแห้งมีราคาที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากจีนก็ได้รับอาหารทะเลมาจากประเทศอื่นค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน
                   2.เกิดการแย่งตลาดทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมน้อยในประเทศจีน ซึ่งจีนก็มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารค่อนข้างมาก
โอกาส : 1.สามารถขยายตลาดการค้าอาหารทะเลแห้งได้แน่นอน ถ้ามีการปรับคุณภาพและรสชาติที่ดีและแปลกใหม่อยู่เรื่อยๆ
                  2.จีนในนิยมอาหารทะเลแห้งเพิ่มขึ้น ทำให้อาหารทะเลไทยสามารถเข้าสู่ตลาดในประเทศจีนได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน
อุปสรรค : 1.การเจาะตลาดค่อนข้างยากเพราะมีคู่แข่งที่จีนรับอาหารทะเลแห้งอยู่จำนวนมาก
                       2.ราคาที่ต้องการในการค้า อาจจะไม่ได้ผลกำไรที่สมควร เนื่องจากมีตลาดที่ค่อนข้างกว้าง โดยเฉพาะรัสเซียสหรัฐอเมริกา นอรเวย์ ญี่ปุ่น แคนาดา อินเดียและเกาหลีใต้ เป็นต้น

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศต่างกับการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร



การค้าระหว่างประเทศ
               คือ การส่งสินค้าของประเทศหนึ่งผ่านพรมแดนไปขายให้ประเทศอื่นๆที่ต้องการสินค้าของประเทศนั้น เรียกว่า การค้าในส่วนนี้ว่า การส่งออก และอีกด้านหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศ  ก็คือ การซื้อสินค้าจากประเทศอื่นๆผ่านเขตแดน เข้าในประเทศ เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า  การนำเข้า
สาเหตุที่ต้องมีการค้าระหว่างประเทศ คือ
-  ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านทรัพยากรธรรมชาติ
-  ประเทศต่าง ๆ มีความสามารถในการผลิตไม่เหมือนกัน
-  ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ เช่น สภาพดิน สภาพอากาศ และภูมิประเทศต่างกัน
ประโยชน์การค้าระหว่างประเทศ
                    1. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ
                    2. ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ
                    3. เกิดการแข่งขันกันด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ
                   4. เกิดความชำนาญเฉพาะอย่างในการผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่อง

การตลาดระหว่างประเทศ
             คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1. การค้นหา พิสูจน์ วิเคราะห์และวิจัย เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ                       
2.สร้างความพึงพอใจและความพยายามในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ 
3. ขั้นตอนการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่ง
                4 .ขั้นตอนการประสานงานการดำเนินการทางการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในตลาด  ระหว่างประเทศ                                                                                                                                           
                 5. ขั้นตอนที่ธุรกิจต้องเรียนรู้และต้องทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ
สาเหตุและแรงจูงใจของการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ
1. ตลาดในประเทศอิ่มตัว
2. สภาพการแข่งขัน
3. ธุรกิจมีกำลังการผลิตที่มากเกินความจำเป็น
             4. ธุรกิจสามารถสร้างประโยชน์ในด้านสินค้า ด้านทักษะและด้านเทคโนโลยีได้มากกว่าคู่แข่งในตลาดระหว่างประเทศ
5. ความแตกต่างของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
6. ความหลากหลายของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
7. เหตุผลทางด้านธุรกิจ
8. เหตุผลทางด้านการเงิน
ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการตลาดระหว่างประเทศ
        ประโยชน์จากตลาดระหว่างประเทศสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ประโยชน์ที่ธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจะเป็นผู้ได้รับ ซึ่งนับได้ว่า เป็นประโยชน์ทั้งทางตรง และส่วนที่สอง คือ ประโยชน์ที่ประเทศแม่ของธุรกิจที่ไปดำเนินการในตลาดระหว่างประเทศจะได้รับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นประโยชน์ทางอ้อม
      สิ่งที่แตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ  คือ  การค้าระหว่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือ ซื้อขายสินค้าระหว่างพรมแดนและมีการนำเข้าสินค้าอื่นเข้ามาในประเทศของตนด้วยเรียกว่า การนำเข้าและส่งออกสินค้าของประเทศตนไปยังประเทศอื่นๆเรียกว่าการส่งออก ส่วนการตลาดระหว่างประเทศ เป็นการทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนเพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
 


แหล่งที่มา: 
                         http://www.uinthai.com/                        
                         http://www.arit.dusit.ac.th/

ภูมิศาสตร์ของประเทศจีน

                                แผนที่แสดงสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศจีน 

สภาพภูมิศาสตร์
            ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่เฉพาะส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ทางเหนือมีบริเวณตั้งแต่ตอนกลางของแม่น้ำเฮลุงเจียงใกล้โมเหอ (ละติจูดที่ 53 องศาเหนือ) ลงมาถึงฝั่งเจิงมู่ ของหมู่เกาะหนานชาทางทิศใต้ (ละติจูด 4 องศาเหนือ) และจากที่ราบสูงปามีร์ทางทิศตะวันตก (ลองติจูด 73 องศาตะวันออก) มาจนถึงบริเวณที่แม่น้ำเฮลุงเจียง และแม่น้ำวาสุลี ไหลมาบรรจบกันทางทิศตะวันออก (ลองติจูด 135 องศาตะวันออก) บริเวณพรมแดนทางบกยาวกว่า 20,000 กิโลเมตร และเป็นพรมแดนที่ติดต่อกับประเทศเกาหลีทางตะวันออก สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียทางเหนือ ประเทศรัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม และติดต่อกับพม่า ลาว และเวียดนามทางตอนใต้ ส่วนฝั่งทะเลของแผ่นดินใหญ่นั้นมีความยาวมากกว่า 18,000 กิโลเมตร ทางฝั่งทะเลจีนตะวันออก ใต้ และตะวันออกเฉียงใต้นั้น ติดต่อกับญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ดังนั้น ผืนแผ่นดินใหญ่จีนจึงถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำโบไฮ แม่น้ำฮวงไฮ ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ แม่น้ำโบโฮนั้น เป็นทะเลภายใน ขณะที่น่านน้ำอีกสามแห่งที่เหลือนั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก จีนมีบริเวณดินแดนที่เป็นหมู่เกาะใหญ่น้อยมากกว่า 5,000 เกาะ ซึ่งอยู่กระจัดกระจายตามน่านน้ำทะเลที่มีขนาดกว้างใหญ่ของจีน หมู่เกาะใหญ่น้อยทั้งที่อยู่ในที่ลึกและตื้นเขินได้รับการเรียกรวม ๆ กันว่า หมู่เกาะทะเลจีนใต้ มีชื่อเป็นทางการว่า หมู่เกาะตงชา ซีชา จวงชา และหนานชา
สภาพภูมิอากาศ
            จีนมีลมฟ้าอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเขตลมมรสุม การที่จีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ทั้งทางเนื้อที่ และลักษณะภูมิประเทศทำให้จีนมีภูมิอากาศที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรเลยโจว เกาะไหหนาน และมณฑลยูนนานนั้นจัดเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอากาศร้อนและฝนตกตลอดปี จึงทำให้พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ มณฑลเฮลุงเจียงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมาอากาศร้อนค่อนข้างหนาวในระยะสั้น ๆ และมีฤดูหนาวที่อากาศหนาวจัดมาก ส่วนบริเวณลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและฮวยเหอ ทางภาคตะวันออกนั้นมีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นโดยที่มีฤดูแตกต่างกันทั้ง 4 ฤดู พื้นที่บางแห่งทางที่ราบสูงยูนนาน ไกวโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนนั้นมีฤดูหนาวที่ค่อนข้างอบอุ่น และฤดูร้อนค่อนข้างเย็น เช่นในคุนหมิงซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นเมืองในฤดูใบไม้ผลิตลอดทั้งปี บริเวณที่ราบทิเบตนั้นมีอากาศที่รุนแรงมาก แต่ก็ได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่ ในเขตภูมิอากาศอบอุ่นเหนือ มีฤดูที่แตกต่างกันไปทั้ง 4 ฤดู ซึ่งประกอบด้วยภูมิอากาศหนาว ร้อน อบอุ่น และฝนตกชุกระยะเวลาของลมมรสุมจะเริ่มตอนปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงระยะอากาศอบอุ่นของกลางปี เป็นลมมรสุมที่ชุ่มชื้นเพราะพัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดียเข้าสู่แผ่นดิน ส่วนในฤดูหนาวอีกครึ่งปีนั้น จะมีลมแห้งแล้งพัดผ่านแผ่นดินไปยังทะเล ทำให้เกิดฤดูแล้งขึ้น บริเวณลุ่มน้ำแยงซีนั้นกลับได้รับประโยชน์จากลมบ้าหมูซึ่งทำให้เกิดฝนตกในฤดูหนาวอิทธิพลของลมมรสุมที่ปกคลุมจีนอยู่นี้เองทำให้เกิดฝนตกชุกในฤดูร้อน และอากาศหนาวและแห้งแล้งในฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนประจำปีนั้นจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับคือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออก ใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจะมีปริมาณน้ำฝนต่อปีระหว่าง 400 - 1,000 มิลลิเมตร ในเขตลุ่มแม่น้ำฮวงเหอ มีปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 600-800 มิลลิเมตร ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำฉางเจียง และบนที่ราบสูงยูนนาน-ไกวโจวมีประมาณ 1,000 มิลลิเมตร ส่วนบริเวณหลายแห่งทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหนาน มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า
2,000 มิลลิเมตร
ทรัพยากร
            พื้นที่ของประเทศจีนนั้นกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมทั้งเขตหนาว อบอุ่น และร้อนของโลก ทั้งยังประกอบไปด้วยธรรมชาติ แวดล้อมหลายประเภท ทำให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพืชพันธุ์นานาชาติ
พืช
           ความแตกต่างกันด้านที่ดินและลมฟ้าอากาศนั้นทำให้จีนมีพืชพรรณหลายหลากชนิด ตั้งแต่พืชที่อยู่ในบริเวณป่าชุ่มชื้น จนถึงทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ และทะเลทรายที่แห้งแล้งทางปลายสุด ของตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเป็นบริเวณป่าผลัดใบ ในเขตอบอุ่นค่อนข้างหนาวที่มีใบไม้แหลมเล็ก เช่น ลาช สปรูซ สน ทางเทือกเขาฮิงกันใหญ่ ส่วนป่าต้น เอล์ม เมเปิล ลินเดน เบอร์ช และ แอช จะปกคลุมแถบภูเขาต่าง ๆ บริเวณพรมแดนจีน-เกาหลี ขณะที่ป่าต้น โอ๊ค และป่าผสมระหว่างโอ๊คและสนนั้นอยู่กันตามภูเขาทางภาคเหนือและคาบสมุทรเลียวตุง และชานตุง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้กลายเป็นเขตป่าไม้ผลัดใบในเขตอบอุ่น ตามแนวด้านเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนทางใต้สุดนั้นจะเป็นเขตอบอุ่น ที่มีป่าไม้เขียวชะอุ่มตลอดปี และมีใบไม้ใหญ่ในแถบลุ่มแม่น้ำฉางเจียง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีพืชพรรณขึ้นอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยต้นไม้ที่มีค่า รวมทั้งประเภทที่มีอยู่ในเขตจีนตั้งแต่สมัยแทติอารี่ เช่น ต้นกิงโคและต้นเมตาซีกัว ส่วนป่าไม้ในเขตร้อนชื้นนั้นอยู่แถบพรมแดนตอนใต้ของจีน และฝั่งทะเลตั้งแต่มณฑลยูนนานจนถึงมณฑลกวางตุ้งป่าไม้เขียวชอุ่มตลอดปี มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ในเขตอบอุ่นบริเวณที่ราบตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงแถบตะวันออกของที่ราบสูงมองโกเลีย ทุ่งหญ้าอัลไพน์ขึ้นปกคลุมทางตะวันออกของภาคกลาง และทางตอนใต้ของที่ราบสูงชิงไฮ-ทิเบต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทิเบตเป็นบริเวณทะเลทรายอัลไพน์จึงมีป่าไม้เป็นพุ่มเตี้ย ๆ ต้นเล็ก ๆ ขึ้นกระจัดกระจาย และทะเลทรายในเขตอบอุ่นทางมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลซินเจียง กานสู และชิงไฮนั้น เป็นบริเวณที่มีต้นไม้เบาบางกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และบางแห่งก็ไม่มีต้นไม้ขึ้นอยู่เลย นับว่าประเทศจีนมีพืชพรรณที่มีค่าอยู่มากกว่า 32,000 ชนิด ซึ่งมากกว่า 2,000 ชนิดในจำนวนนั้นจะเป็นพืชที่เป็นอาหาร และมากกว่า 2,800 ชนิดเป็นพวกสมุนไพร นอกเหนือจากที่กล่าวแล้วจะประกอบด้วยพืชเศรษฐกิจในเขตร้อนอีกด้วย เช่น ยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ป่านซีซัล โกโก้ และพริกไทยเป็นต้น
สัตว์
            สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนนั้น มีนก 1,150 ประเภท นับเป็น 13.4 เปอร์เซ็นต์ของนกทั้งหมดในโลก สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม 400 ประเภท นับเป็น 11.1 เปอร์เซ็นต์ของโลก และสัตว์จำพวกสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอีกมากว่า 420 ประเภท นับว่าชีวิตสัตว์ป่าในประเทศจีนนั้นจะเป็นประเภทที่รู้จักกันอย่างดีในแง่สัตว์เศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ เช่น หมีแพนด้า ลิงจมูกงุ้ม สัตว์ที่มีเขาทาคิน กวางปากขาว ไก่ฟ้ามีหู ปลาดอลฟินจีน และจระเข้จีน เป็นต้น
แร่ธาตุ
           ประเทศจีนอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่มีค่า มีบ่อถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียมที่มีกำมะถันต่ำและแหล่งแร่เหล็กมีอยู่ทั่วไป รวมทั้งทองแดง อลูมิเนียม ทังสะเตน ดีบุก แมงกานิส ตะกั่ว สังกะสี ซึ่งประมาณกันว่า จีนมีปริมาณแร่ธาตุดังกล่าวมากที่สุดในโลก เช่นเดียวกับปริมาณของบ่อน้ำมัน ฟอสฟอรัส กำมะถัน แมกนีไซท์ เกลือ และยิปซั่ม และจีนได้ค้นพบบ่อแร่ธาตุใหม่ ๆ ประเภทแพลตตินัม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่หาได้ยากในโลก ประเทศจีนยังมีบริเวณที่เป็นพื้นน้ำกว้างใหญ่ ซึ่งทำให้จีนมีทรัพยากรทางน้ำมากมาย รวมทั้งแร่ธาตุที่อยู่ทางท้องทะเลด้วย


แหล่งที่มา:
                             http://china.deeanddang.com/
                             http://www.thaigoodview.com/