วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย( อาหารทะเลแห้ง )
         จีนเป็นทั้งผู้ผลิตและนำเข้าอาหารทะเล ทั้งเพื่อแปรรูปส่งออกและเพื่อบริโภคที่น่าจับตามอง เนื่องจากตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจีน เป็นตลาดน่าสนใจจากปริมาณผลิตที่ไ ม่เพยีงพอตอ่ความต้องการบริโภค ทำให้จีนต้องพงึ่การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เพื่อป้อนตลาดในประเทศ ปัจจุบัน มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลไทยไปตลาดจีนยังไม่สูงนัก ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของจีน คือ รัสเซียสหรัฐอเมริกา นอรเวย์ ญี่ปุ่น แคนาดา อินเดียและเกาหลีใต้ ซึ่งสัดส่วนตลาดรวมกันถึง 65% ของมูลค่านำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดของจีน สำหรับไทย อยู่อันดับ 8 ของแหล่งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ของจีน โดยใน ปี3 เดือนแรกของ ปี2009 มณฑลกวางตุ้งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากไทยเฉลี่ย 6,779 ตัน คิดเป็นมูลค่า 14.94 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2010 มณฑลกวางตุ้งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากไทยเฉลี่ย 6,058 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี2009 ลดลงร้อยละ 10.63 เนื่องจากรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งส่งเสริม การเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา การเพาะเลี้ยงชายฝั่งในมณฑล  แนวโน้มบริโภคอาหารทะเลของคนจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมีความสดและคุณภาพดีขึ้น เนื่องจากการปรับปรุงและพัฒนาช่องทางขนส่งและรายได้เฉลี่ยต่อหัวคนจีน มี แนวโน้มเพิ่มขนึ้ ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายตลาดอาหารทะเลนำเข้าคือกลุ่มผู้มีรายได้สูงและอาศัยตามเมืองใหญ่ๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มรายได้เพียงพอซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนำเข้า ปัจจุบันพื้นที่แถบชนบทของมณฑลกวางตุ้งเริ่มหันมาเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเลในพื้นที่น้ำจืดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเลี้ยงรายย่อยเพื่อจำหน่ายให้พื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งนักธุรกิจหันมาลงทุนเพาะเลี้ยงลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่ เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคในเมืองใหญ่และป้อนเข้าโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพื่อส่งออกอาหารทะเลแปรรูปเพื่อส่งออกแม้จีนจะเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมากที่สุดในโลกแต่จีนยังต้องการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เนื่องจาก
      1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค กลุ่มคนรุ่นใหม่ของจีนเป็นตลาดสำคัญของอาหารทะเลนำเข้า เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้เห็นว่า อาหารทะเลนำเข้าต่างจากอาหารทะเลที่ผลิตได้ในประเทศ ทั้งความหลากหลายของประเภท และรสชาติจึงเป็นโอกาสของผลติภัณฑ์อาหารทะเลที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในจีน โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามสไตล์ตะวันตก
     2. ปัจจัยเอื้อนโยบายรัฐบาลจีน ราคาเป็นปัจจัยสำคัญมากในการตัดสินใจซื้ออาหารทะเลของกลุ่มคนจีนโดยทวั่ไป นอกจากนี้กลุ่มคนจีนที่มีอายุนิยมซื้ออาหารทะเลจากตลาดสด ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะทราบที่มาของอาหารทะเลเหล่านี้ อาหารทะเลที่จำหน่ายส่วนใหญ่ยังมีชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปคนจีนนิยมซื้ออาหารทะเลเป็นๆ ซึ่งเมื่ออาหารทะเลเป็นๆ ราคาแพงขึ้น เนื่องจากนโยบายรัฐบาลจำกัดปริมาณจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติอาหารทะเลแช่แข็งจึงเป็นทางเลือกน่าสนใจมากขึ้น รองลงไปคืออาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลตากแห้ง โดยเฉพาะปลาหมึกตากแห้งเป็นของขบเคี้ยวที่นิยมมากในกลุ่มคนจีนอย่างไรก็ตาม อาหารทะเลนำเข้าที่มีโอกาสขยายตลาดในจีน ต้องเป็นอาหารทะเลที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนจีน กล่าวคือ คนจีนนิยมบริโภคหัวปลาและพุงปลาส่วนขนาดปลาที่เป็นที่นิยมในตลาดจีนควรจะมีน้ำหนักประมาณ 200-500 กรัมต่อตัวยังมีหัวและหางอยู่ครบ เนื่องจากปลาขนาดนี้เหมาะสำหรับนำไปนึ่ง ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนจีน
      3. การแข่งขันของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนำเข้า ยังไม่สูงนัก ปัจจุบันอาหารทะเลนำเข้าของจีน ยังไม่มีประเทศใดเป็นผู้นำตลาดชัดเจนและความต้องการอาหารทะเลของจีนหลากหลาย อย่างไรก็ตาม อาหารทะเลที่ส่งออกจากประเทศแถบเอเชีย มีความสามารถแข่งขันในตลาดจีนได้ดีกว่า เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเทียบกับอาหารทะเลจากประเทศตะวันตก
      4. ตามกรอบความร่วมมือเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (China — ASEAN FreeTrade Area) ภาษีในการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ไม่ว่าจะสด แช่แข็ง หรือแห้งจะเป็น 0% ดังนั้นจีนจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย

ข้อดี :  1.ตลาดของอาหารทะเลแห้งของประเทศไทยได้เจาะตลาดประเทศจีนมากขึ้น
              2.ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศและมีการเลือกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศจีนมากขึ้น
              3.เกิดรายได้เข้าประเทศจากอาหารทะเลแห้ง ซึ่งทำให้มีตลาดการค้าที่กว้างและขยายตัวดีขึ้น
ข้อเสีย : 1.ราคาสินค้าอาหารทะเลแห้งมีราคาที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากจีนก็ได้รับอาหารทะเลมาจากประเทศอื่นค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน
                   2.เกิดการแย่งตลาดทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมน้อยในประเทศจีน ซึ่งจีนก็มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารค่อนข้างมาก
โอกาส : 1.สามารถขยายตลาดการค้าอาหารทะเลแห้งได้แน่นอน ถ้ามีการปรับคุณภาพและรสชาติที่ดีและแปลกใหม่อยู่เรื่อยๆ
                  2.จีนในนิยมอาหารทะเลแห้งเพิ่มขึ้น ทำให้อาหารทะเลไทยสามารถเข้าสู่ตลาดในประเทศจีนได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน
อุปสรรค : 1.การเจาะตลาดค่อนข้างยากเพราะมีคู่แข่งที่จีนรับอาหารทะเลแห้งอยู่จำนวนมาก
                       2.ราคาที่ต้องการในการค้า อาจจะไม่ได้ผลกำไรที่สมควร เนื่องจากมีตลาดที่ค่อนข้างกว้าง โดยเฉพาะรัสเซียสหรัฐอเมริกา นอรเวย์ ญี่ปุ่น แคนาดา อินเดียและเกาหลีใต้ เป็นต้น

9 ความคิดเห็น:

  1. เหนแล้วอยากกินปลาหมึก
    เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ตาลาย อิอิ

    ตอบลบ
  2. รูปแบบสวยงามดีจ๊ะ

    ตอบลบ
  3. สีสันสวยงาม..เนื้อหาสมบูรณ์..เห็นแล้วอยากกินปลาหมึกจัง^^

    ตอบลบ
  4. สวยค่ะ จัดรูปแบบดูน่าสนใจ

    ตอบลบ
  5. Good. Do the SWOT.

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาแน่นดีจร่ะ วิเคราะห์swot ได้ดีที่เดียว

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย ดีคร้า

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาน่าอ่านค่ะ สีสีนสวย

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาดีค่ะ แน่นดีอ่านเข้าใจง่าย

    ตอบลบ