วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แรงดึงดูดในด้านต่างๆของประเทศจีน....

         

           ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย และที่เด่นชัดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน ซึ่งมีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน และไทยได้รับเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนในช่วงเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน น่าจะเริ่มมีขึ้นในช่วงนี้ด้วยจากการอพยพของชาวจีนในช่วงสงครามสมัยราชวงศ์หยวนและในช่วงต้นราชวงศ์ หมิง และนับจากนั้นมา ก็ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาโดยตลอดและมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาตั้งรกราก ในไทย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกและสงครามกลางเมืองของจีนในทศวรรษที่ 1930-1950 มีชาวจีนจำนวนมากจากมณฑลทางใต้ของจีน อาทิ กวางตุ้ง ไห่หนาน ฝูเจี้ยน และกวางสี หลบหนีภัยสงครามและความ อดอยากเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดุจพี่น้องระหว่างไทย กับจีนได้มีมาอย่างยาวนาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน

แรงดึงดูดทางด้านการเมืองของประเทศจีน
        1.     จีนประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันอันนำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       2.     จีนมีพื้นฐานความเข้าใจและความใกล้ชิดกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนที่ดีอย่างต่อเนื่อง
      3.     ผู้นำของจีนนับแต่อดีตจนถึงปัจุบันได้เยือนประเทศต่างสร้างสัมพันธ์ที่ดีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เช่น นายเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เยือนไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978 นับจากนั้นประธานาธิบดีจีนทุกสมัยก็ได้เยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แรงดึงดูดทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน
       1.     จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ค่อนข้างกว้างหลังจากทศวรรษแรกของการสถาปนาความสัมพันธ์ที่ทั้งสองประเทศได้ประสบผลในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันแล้วนั้น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าได้กลายเป็นองค์ประกอบที่นับวันยิ่งมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอื่นๆ
       2.    อนาคตเศรษฐกิจของประเทศจีนมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จ และดำเนินต่อไปทั่วโลกเหมาะแก่การทำการค้าและลงทุนเป็นอย่างมาก
       3.     ประเทศจีนได้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และมีเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
แรงดึงดูดทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศจีน
       1.    จีนด้วยความผูกพันยาวนานและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดทำให้ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมจีนพัฒนาไปยังประเทศต่างๆที่ทำการค้ามายาวนานและแนบแน่นมาโดยตลอด
      2.    ประชาชนของได้มีการไปมาหาสู่เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านประจำชาติ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดีและได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากประชาชนของแต่ละฝ่าย ไปจนถึงความร่วมมือทางด้านศาสนาและการลงทุนต่างๆตามมาอย่างต่อเนื่อง
 3.    ประวัติศาสตร์ของจีน ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน รวมทั้งเยาวชนของไทยในการศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ 
 แรงดึงดูดทางด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน
1.    ผู้นำประเทศจีนมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวทันโลกอย่างต่อเนื่อง เห็นถึงความกระตือรือร้นของผู้นำที่ดีและประชาชนในประเทศจีนเป็นอย่างมาก
2.    จีนได้ให้ความมือทางด้านการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น
3.    จีนได้มีการส่งเสริมให้กับเยาวชนรุ่นหลังหันมาสนใจในการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อติดตามข่าวสารได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา

ความเสี่ยงของการมาลงทุนในประเทศจีน
1.    ประเทศจีนมีคู่ค้าค่อนข้างมากและกว้างอาจจะมีผลต่อผลกำไร หรือ ราคาที่อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังได้
2.    ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและประชากรที่สมบูรณ์ สินค้าบางชนิดอาจจะมาเปิดตลาดได้ยากสำหรับการมาลงทุนในประเทศจีน
3.    ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรประกอบการค้าขายเป็นอาชีพหลัก ดังนั้นการที่จะไปลงทุนอาจมองถึงโอกาสตลาดของประเทศของตนได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากประชากรจีนส่วนใหญ่ก็มีความประหยัด และอดทน ดังนั้นการจะไปทำการค้าอาจจะไม่สู้ตลาดของจีนแท้ๆได้

กล่าวโดยสรุป   ในปัจจุบันไทยกับจีนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่เจริญรุดหน้าในทุกด้าน และนับวันจะยิ่งพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้ง ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ดังนั้น ในช่วงศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของจีน ไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคหวังว่าจะความร่วมมือกับจีนมากยิ่งทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน โดยจีนจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและโลกโดยรวม




1 ความคิดเห็น: